ยินดีต้อนรับ ผู้เข้าเยี่ยมชม [ ลงทะเบียน | เข้าสู่ระบบ

ประกาศฟรี ที่นี้

วันหยุดตามกฎหมาย วันหยุดงาน คนทำงานต้องรู้

คนทำงานอมตะนคร ต้องรู้ 22/10/2017

วันหยุดตามกฎหมายแรงงาน ลูกจ้างต้องได้รับวันหยุด อย่างน้อย ดังนี้

● วันหยุดประจำสัปดาห์
– ต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
– ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ (ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมงหรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย)
– นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้
– งาน โรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร (งานประมงงานดับเพลิง) งานอื่นตามที่กฎกระทรวงฯ กำหนด นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า สะสมและเลื่อนวันหยุด ประจำสัปดาห์ไปเมื่อไดก็ได้แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา ไม่เกิน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
– กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่แน่นอน ให้นายจ้างประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันและแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานตรวจแรงงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ประกาศกำหนด

● วันหยุดตามประเพณี
– ต้อง ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย ถ้าวันหยุด ตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป
– ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี

● วันหยุดพักผ่อนประจำปี
– ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน
– ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี
– ถ้าลูกจ้างที่ทำงานยังไม่ครบ 1 ปี จะให้หยุดตามส่วนก็ได้
– ให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหรือกำหนดตามที่ตกลงกัน
– นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้

1364 เข้าชมทั้งหมด, 1 วันนี้

สิทธิ์ในการลา ของลูกจ้าง คนทำงาน ตามกฎหมาย

คนทำงานอมตะนคร ต้องรู้ 22/10/2017

● การลาคลอด
– ลูกจ้าง ซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง ซึ่งลาคลอดเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

● การลาเพื่อทำหมัน
– ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิ์ลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะ เวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และออกใบรับรองให้โดยลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันลานั้นด้วย

● การลากิจ
– ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

● การลาเพื่อรับราชการทหาร
– ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึก วิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพรั่งพร้อม โดยลาได้เท่ากับจำนวนวันที่ทางการทหารเรียก และได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี

● การลาเพื่อฝึกอบรม
– ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันลานั้น

1051 เข้าชมทั้งหมด, 0 วันนี้

ตอนจบ คนทำงานในระบบ กับ สวัสดิการแห่งรัฐ

คนทำงานอมตะนคร ต้องรู้ 22/10/2017

ความเห็น ที่ 21 (“https://pantip.com/topic/36988073/comment21”)

ผมอายุ 55 early retirement เนื่องจากปัญหาสุขภาพ หลังจากทำงาน บ.เอกชนมา 30 กว่าปี จ่ายภาษีให้รัฐเต็มเม็ดเต็มหน่วยตลอดมา สถานการณ์ตอนนี้

1. ไม่มีรายได้อะไรเลย รอลูกจบทำงานมีรายได้ หวังว่าเขาจะเลี้ยงเรา
2. มีเงินเก็บหลักแสน เป็นเงินเก็บที่หาได้มาตลอดชีวิต
3. ส่งประกันสังคม ม.39 เดือนละ 432 บ.เพื่อเอาสิทธิ์รักษาพยาบาล
4. เงินบำนาญของประกันสังคมไม่มี เพราะต้องลาออกจากประกันสังคม เลือกจะรักษาสิทธิ์การรักษาพยาบาลเอาไว้
5. เงินชราภาพก็ยังไม่ได้ อายุยังไม่ถึง
6. บัตรสวัสดิการของรัฐก็ไม่ได้ เพราะมีเงินในธนาคารเกิน 1 แสนและมีบ้านชื่อของผม 
เมื่อผมใช้เงินเก็บหลักแสนหมด คงต้องขายบ้านกินต่อ ถ้ายังไม่ตาย สุดท้ายก็ต้องไปอยู่บ้านสงเคราะห์คนชรา  ถ้าลูกไม่เลี้ยง นี่คือเรื่องจริง 
   “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”  ฝากไว้ครับ

ที่มา “https://pantip.com/topic/36988073/comment21”

อ่านจบแล้วเศร้าใจครับ รัฐ(สวัสดิการแห่งรัฐ) น่าจะช่วยเหลือคนทำงาน ที่อยู่ในระบบมากกว่านี้ พวกเราลำบากจริงๆ ครับ ค่าครองชีพ ค่าใช้จ่ายสารพัด ท่านควรให้สิทธิ์ประกันสุขภาพ หรือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แก่เราด้วย  คนเสียภาษีเยอะๆ หรือไม่ต้องเยอะ ก็น้อยใจ ท่านช่วยแต่คนจน รู้ไหมว่าบางส่วนในนั้น ไม่ได้จนจริง พวกเขาบางคน (คนไทยเหมือนกันนะ) เขาอยู่นอกระบบที่สรรพากรหาไม่เจอ  ถ้าท่านช่วยเขาก็าช่วยพวกเราด้วย คนไทยเหมือนกัน

ท่านช่วยคนจน โดยการออกโครงการ “ประชารัฐ” สวัสดิการช่วยเหลือคนจนที่ลงทะเบียน นำบัตรสวัสดิการไปซื้อสินค้า คนที่รายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี จะได้ 300 บาท/เดือน คนรายได้ 30,000 – 100,000 บาทต่อปี จะได้เดือนละ 200 บาท รวมทั้งได้ส่วนลดค่าซื้อแก๊สหุงต้ม 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน ได้วเงินขึ้นรถเมล์ รถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน รถ บขส. 500 บาทต่อเดือน และรถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน รรวมผู้มีสิทธิ์กว่า 11 ล้านคน รัฐวางงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 41,940 ล้านบาท
(เริ่มใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2560 เป็นต้นไป)

 

1113 เข้าชมทั้งหมด, 1 วันนี้

เวลาทำงาน เวลาพัก ตามกฎหมาย คนทำงานต้องรู้

คนทำงานอมตะนคร ต้องรู้ 22/10/2017

● เวลาทำงาน
– ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์งานอันตรายตามที่กำหนดในกฏกระทรวง
– ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

● เวลาพัก
– ในวันที่มีการทำงานให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน
– นาย จ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง ก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาทีและเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
– กรณี งานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

1289 เข้าชมทั้งหมด, 0 วันนี้

ค่าชดเชยเลิกจ้างงาน ต้องรู้เมื่อถูกเลิกจ้าง

คนทำงานอมตะนคร ต้องรู้ 22/10/2017

● ค่าชดเชย

– ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้
1. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน
3. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
5. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย300 วัน

– ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิตการจำหน่ายหรือการบริการอันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่อง จักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้

1. แจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้าง และรายชื่อลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้างให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงาน ทราบล่วงหน้าไม่ น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้างถ้าไม่แจ้ง แก่ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาหกสิบวัน
2. ถ้าไม่แจ้งก่อนล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างเท่ากับค่า จ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่า จ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านี้ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายค่าสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายด้วยนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติดังต่อไปนี้
1. ลูกจ้าง ทำงานติดต่อกันครบหกปีขึ้นไป นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย พิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติซึ่งลูกจ้างนั้นมีสิทธิได้รับอยู่แล้ว ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงาน ครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
2. ค่าชดเชยพิเศษนี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อย หกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน
3. เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ เศษของระยะเวลาทำงานที่มากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี

– ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบ สำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว
1. นาย จ้างต้องแจ้งล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนย้ายถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าร้อย ละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยปกติที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับ
2. ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถานประกอบกิจการล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวันข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย : ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
– ลูกจ้างลาออกเอง
– ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
– จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
– ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
– ฝ่าฝืน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
– ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
– ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

กรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลา
นั้น ได้แก่งานดังนี้
1. การจ้างงานในโครงการ เฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือ การค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
2. งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว ที่มีกำหนดงานสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
3. งานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือ ไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

1017 เข้าชมทั้งหมด, 0 วันนี้

สาวโรงงาน ค่าแรง 35 บาทต่อวัน สู่มหาเศรษฐีที่มีรายได้ 8 หมื่นล้านบาทต่อปี

กำลังใจ 20/10/2017

นี่คือเรื่องราวชีวิตจริงของ Zhou Qunfei (โจว ฉุนเฟย) เธอเกิดในครอบครัวยากจน ที่มณฑลเหอหนานของประเทศ จีน ในปี 1970 แม่ของเธอเสียชีวิตตั้งแต่เธอยัง 5 ขวบ ส่วนพ่อทำงานโรงงานและระสบอุบัติเหตุจนสูญเสียนิ้วมือและตาบอด เธอต้องเลี้ยงเป็ดและหมู เพื่อหาเงินเลี้ยงครอบครัว และเจียดเงินส่วนหนึ่งส่งตัวเองเข้าโรงเรียน
โชคร้ายเธอมีเงินเรียนได้แค่นั้น เมื่ออายุ 16 ปีก็ต้องออกจากโรงเรียนแล้วหางานทำ เธอเร่ร่อนไปตายดาบหน้า ขอที่พักกับคุณลุงในมณฑลกวางตุ้ง จนมาได้งานเป็นสาว โรงงาน ผลิตกระจกที่เมืองเซินเจิ้น ด้วยค่าแรงวันละ 35 บาทเท่านั้น!
“สภาพการทำงานเลวร้ายมาก ฉันทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้าไปจนถึงเที่ยงคืน บางครั้งก็ตี 2 เพราะบริษัทมีพนักงานไม่กี่สิบคน จึงไม่มีกะทำงาน ทุกคนต้องมานั่งเช็ดกระจก และฉันไม่มีความสุขเลย” – โจว ฉุนเฟย เล่าถึงชีวิตตอนทำงานเป็นสาวโรงงาน
หลังจาก 3 เดือนผ่านไป เธอเขียนจดหมายลาออก อธิบายเจ้านายถึงเวลาทำงานที่มากเกินไปแต่ก็แสดงความต้องการให้เห็นด้วยว่าเธอต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่เพิ่มเติม นั่นทำเจ้านานประทับใจ และขอให้เธออยู่ต่อ พร้อมสัญญาว่าจะนำระบบงานใหม่มาใช้ และเป็นไปตามนั้นนางโจว ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นในบริษัทนี้ด้วย

ชีวิตทำงานของเธอไม่ได้ผ่านไปวันๆ เพราะเธอได้เรียนรู้ว่าอุตสาหกรรมกระจกในจีนค้าขายกันอย่างไร จนเธอตัดสินใจย้ายกลับไปบ้านเกิด เพื่อตั้งบริษัทของตัวเองในปี 2003 นั่นก็คือสำนักงานใหญ่ของบริษัท Lens Technology

บริษัทของเธอ เริ่มผลิตหน้าจอมือถือให้แก่ HTC โนเกีย และซัมซุง จนกระทั่งปี 2007 ผู้เล่นรายใหญ่อย่างไอโฟนก็เข้ามา จนเธอกลายเป็นผู้ผลิตกระจกหน้าจอมือถือ ให้แก่ยักษ์ใหญ่ระดับโลก นั่นเป็นที่มาของรายได้มากถึง 70% ของรายได้ทั้งบริษัท ที่มีรายได้รวม 2.3 พันล้านเหรียญ หรือประมาณ 8หมื่นล้านบาท
เลนส์ เทคโนโลยี เจริญก้าวหน้าเติบโตขยายขนาดการลงทุนเพิ่มต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีพนักงานมากว่า 6 หมื่นคน มีที่ตั้ง โรงงาน อยู่ทั่วประเทศ ในเดือนมีนาคามที่ผ่านมา บริษัทของเธอได้เปิดขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น มูลค่าหุ้นของเธอ มีมูลค่ารวมกันมากกว่า 7.4 พันล้านเหรียญ(2.59 แสนล้านบาท)

นิตยสารฟอร์บส์ ของสหรัฐฯ ยกให้เธอเป็นผู้หญิงที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศจีน และเป็นผู้หญิงที่รวยที่สุด ในโลก ในกลุ่มสตรีผู้ที่สร้างฐานะขึ้นมาด้วยตัวเอง ตอนนี้เธอได้รับฉายาว่า “ราชินีแห่งหน้าจอมือถือ”

ที่มา
http://www.kiitdoo.com/
http://www.flagfrog.com

http://inspyrationtojob.blogspot.com/

1002 เข้าชมทั้งหมด, 0 วันนี้

จ่ายเงินโบนัสประจำปีน้อยกว่าปีก่อน คนทำงาน ต้องทำอย่างไร

คนทำงานอมตะนคร ต้องรู้ 20/10/2017

ต้องดูว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายโบนัสไว้หรือไม่อย่าง ไร หากไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องนี้ไว้ นายจ้างก็มีสิทธิที่จะกำหนดการจ่ายโบนัสประจำปีให้กับลูกจ้างได้ แต่หากมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องการจ่ายโบนัส นายจ้างต้องจ่ายตามข้อตกลงนั้น หากจ่ายน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน

842 เข้าชมทั้งหมด, 0 วันนี้

การจ้างพนักงานเด็กเข้าทำงาน

ไม่มีหมวดหมู่ 20/10/2017

กฎหมายกำหนดมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้าปีเป็นลูกจ้าง แต่ในกรณีที่มีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีเป็นลูกจ้าง นายจ้างจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด เช่น ต้องแจ้งการจ้างลูกจ้างเด็กต่อพนักงานตรวจแรงงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ เด็กเข้าทำงาน ต้องจัดทำบันทึกสภาพการจ้างกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการและแจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างเด็กต่อพนักงานตรวจแรงงาน ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน

810 เข้าชมทั้งหมด, 0 วันนี้

ลาป่วย โดยไม่มีใบรับรองแพทย์ คนทำงาน ต้องรู้

ไม่มีหมวดหมู่ 20/10/2017

สิทธิการลาป่วยของลูกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง หากลูกจ้างป่วยจริงและลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาลของทางราชการ หากลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์ได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ ค่าจ้างระหว่างการลาป่วย กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ในวันลาป่วยตามวรรคหนึ่งเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ป่วย ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน

856 เข้าชมทั้งหมด, 0 วันนี้

เงินประกันค่าตำแหน่ง ต้องเรียกเก็บ หรือไม่ ในอัตราเท่าใด คนทำงาน ต้องรู้

คนทำงานอมตะนคร ต้องรู้ 20/10/2017

บริษัทฯ ซึ่งเป็นนายจ้างเรียกเก็บเงินประกันจากลูกจ้างได้เฉพาะลักษณะหรือสภาพของงาน ที่ลูกจ้างทำนั้นต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ อันได้แก่ งานสมุห์บัญชี งานพนักงานเก็บและหรือจ่ายเงิน งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้าง หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ และงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้เช่าทรัพย์ ให้เช่าซื้อ ให้กู้ยืม รับฝากทรัพย์ รับจำนอง รับจำนำ เก็บของในคลังสินค้า รับประกันภัย รับโอนหรือรับจัดส่งเงินหรือการธนาคาร ทั้งนี้ เฉพาะลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการนั้น กรณี ที่นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้างที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตาม ที่กล่าวมาแล้วนั้น เงินประกันที่เรียกเก็บได้จะต้องไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับในวันที่นายจ้างรับเงิน ประกัน และต้องนำ เงินประกันที่รับจากลูกจ้างไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น โดยจัดให้มีบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคน และแจ้งให้ลูกจ้างทราบด้วย

 

ขอแสดงความนับถือ

ประเสริฐ โทร 080 288 2000

ชุมชนคนทำงานอมตะนคร

809 เข้าชมทั้งหมด, 0 วันนี้

ทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด คนทำงานต้องรู้

คนทำงานอมตะนคร ต้องรู้ 20/10/2017

● การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด

– ใน กรณีที่งานมีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะ เสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉินนายจ้างอาจให้ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้
– กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคมสถานพยาบาล และกิจการอื่นตามที่กระทรวงจะได้กำหนดนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานใน วันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป
– ใน กรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า สองชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก ไม่น้อยกว่ายี่สิบนาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่ม ทำงานล่วงเวลา (ยกเว้นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน)

● ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด

– ถ้า ทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน
– ถ้า ทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานนายจ้างต้องจ่าย ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
– ถ้า ทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงาน ที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

974 เข้าชมทั้งหมด, 1 วันนี้